วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

ฟังดนตรีอย่างไรให้มีสุนทรียะ


ฟังดนตรีอย่างไรให้มีสุนทรียะ

  “ เราฟังดนตรีกันที่ความไพเราะ เหมือนกับการศึกษาธรรมะก็เพราะความไพเราะของธรรม ”

 (พุทธทาส อินทปัญโญ)






ความหมายของดนตรี
ดนตรี คือ เสียงและโครงสร้างที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งมนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเสียง
หรือโดยสรุปคือ "เสียงของเมโลดี้ที่นักดนตรีสร้างขึ้น เปรียบเสมือนภาพวาดที่มีลายเส้น
ซึ่งแล้วแต่ความชอบของตัวผู้สร้างงาน หรือ ศิลปิน ดังนั้นดนตรีจึงเป็นการนำเสียงสูงต่ำมาเรียงกันจนออกมาเป็นเพลง"





ความหมายของสุนทรียภาพ
สุนทรียภาพ คือ ความรู้สึกซาบซึ้งในคุณค่าของความงามที่มีอยู่ในสรรพสิ่งต่างๆ ที่เกิดโดยธรรมชาติ และทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้น อันเกิดจากความพึงพอใจในความสุขที่ได้สัมผัสกับความงามโดยปราศจากความคิดเป็นเจ้าของและหวังผลตอบแทน หรือโดยสรุปคือ"ความซาบซึ้ง ความเพลิดเพลิน ความคล้อยตาม ทำให้เกิดความรู้สึกภายในจิตใจ"






      ดนตรีประกอบไปด้วยความรู้ที่ต้องอาศัยการอ่าน การคิดหาเหตุผล การท่องจำ การเล่าสืบต่อกันมา แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงความรู้รอบๆตัวดนตรีเท่านั้น โดยทั่วไปลักษณะของการฟังดนตรีนั้นจะได้ในรูปแบบของความเพลิดเพลิน โดยฟังตั้งแต่เนื้อร้อง จนถึงท่วงทำนอง แต่การฟังเท่านี้ยังไม่สามารถรู้ว่าเสียงเหล่านั้นเกิดมาจากอะไร แต่การฟังในรูปแบบของคนที่เล่นดนตรี จะต้องผ่านการคิดวิเคราะห์ และมีสมาธิในการฟังจึงจะสามารถเข้าสู่รูปแบบของการฟังจนเข้าถึงสุนทรียะได้
     ปัจจุบันคนหันมาเล่นดนตรีกันเยอะเพราะสื่อ ทำให้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป และการหาเครื่องดนตรีในปัจจุบันนั้นหาง่าย หากเป็นในสมัยสิบกว่าปีที่แล้ว การจะหาเครื่องดนตรีสักชิ้นนั้นต้องนั่งรถเข้ามาซื้อในกรุงเทพฯ ดังนั้นปัจจุบันคนจึงหันมาให้ความสำคัญกับการฟังดนตรีกันมากขึ้น ซึ่งเหตุผลของการฟังของนักดนตรี คือ ฟังเพื่อศึกษา (หากเป็นคนทั่วไปก็ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน ไม่ได้ผ่านการคิดวิเคราะห์กับเสียงดนตรีที่ได้ยินว่ามีที่มาอย่างไร)ซึ่งแบ่งลักษณะของการฟังเป็น 2 ประเภท คือ


1. การฟังดนตรีภายนอก
การฟังดนตรีภายนอก คือ การฟังผ่านๆ เสมือนการดูภาพยนตร์หนึ่งเรื่อง แล้วมีดนตรีประกอบ แต่ดนตรีนั้นก็ไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะสิ่งสำคัญคือตัวภาพยนตร์ แต่การมีเสียงประกอบขึ้นนั้นเพื่อให้ฉากนั้นๆดูมีรายละเอียดของความรู้สึก แต่ไม่ได้มุ่งประเด็นไปที่การฟังดนตรี






 2. การฟังดนตรีภายใน
การฟังดนตรีภายใน คือ การสัมผัสได้จากเสียงเท่านั้น โดยต้องรู้ถึง เสียง จังหวะ ทำนอง คำร้อง และนำสิ่งเหล่านี้มาวิเคราะห์
การฟังดนตรีอย่างซาบซึ้งต้องฝึกฝน และมีความตั้งใจในการฟัง โดยฟังให้ละเอียดและรับรู้ถึงความรู้สึก ดังนั้นจึงต้องมีสมาธิในการฟัง และต้องเป็นเพลงที่อยากฟังด้วย โดยไม่จำกัดประเภทและแนวของดนตรี สิ่งเหล่านี้จึงขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล







องค์ประกอบ และ ขั้นตอน
สู่การฟังดนตรีอย่างมีสุนทรียะ

     ดนตรีเป็นเรื่องของสุนทรียะ อารมณ์ และ เป็นเรื่องของศาสตร์ ดังนั้น การฟังดนตรี อาจไม่ใช่แค่การฟังให้ได้ยิน แต่ถ้าอยากฟังดนตรีให้มีสุนทรียะ ก็ยังมีศาสตร์แห่งการฟังที่ควรจะต้องศึกษาไว้

โดยผู้ฟังจะถูกแบ่งออกเป็น 5 ประเภทคือ
ฟังแบบพาสสีฟ (Passive) คือการฟังแบบได้ยินผ่านๆ คือพอรู้ว่าดนตรีนั้นช้าหรือเร็ว ชายหรือหญิง ร้องเพลงอะไร แต่ใจจดจ่อกับกิจกรรมอื่นมากกว่าเสียงเพลง เช่นการเปิดดนตรีคลอไประหว่างที่เราทำกิจกรรมอื่นไปด้วย
ฟังแบบเซนซูอัส (Sensuous) จะลึกกว่าแบบแรก ฟังแล้วรู้ว่าดนตรีนั้นมีความหมายอย่างไร จับความในเนื้อร้องได้โดยสังเขป หรือจะเรียกว่า การฟังระดับสื่อสารได้
ฟังแบบอิโมชันแนล (Emotional) เป็นการฟังที่ลึกเข้าไปอีก คือสามารถเข้าถึงความหมายของเนื้อร้องและทำนอง เกิดอารมณ์คล้อยตาม จนอยากที่จะฟังซ้ำๆ แต่ก็ยังไม่ได้เข้าถึงแก่นแท้ของดนตรี เป็นการฟังด้วยใจสัมผัสจำ
ฟังแบบเปอร์เซฟตีฟ (Perceptive) เป็นการฟังที่ทีใจจดจ่อ มีสมาธิในการฟัง เข้าใจดนตรีทุกแง่มุม รับรู้ในความงามของดนตรีวิพากย์วิจารณ์ดนตรีบทนั้นได้ถูกต้องตามทฤษฏี บอกถึงข้อดีข้อเสียได้ ในระดับนี้ถือว่าผู้ฟังเริ่มมีสุนทรียะในการฟังแล้ว เรียกอีกอย่างว่า เป็นการฟังลึกล้ำซ้ำวิจารณ์
ฟังแบบพิการเกินมนุษย์ อันนี้แค่รู้ไว้ ไม่ต้องพยายามจะฟังให้ถึงขั้นนี้ก็ได้ ประเภทฟังแล้วร้องไห้ น้ำตาไหล หรือใจหลุดลอยไปในที่ใดที่หนึ่งชั่วขณะ

     องค์ประกอบของการฟังดนตรีให้ไพเราะ ต้องอาศัยบรรยากาศ ความรู้ทางดนตรี และ ดนตรีมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม การฟังดนตรีให้ดีในแต่ละแนวเพลงจึงเป็นรสนิยมส่วนบุคคล โดยเริ่มจาก
ฟังเสียง ดนตรีเป็นสื่อทางอารมณ์ที่สัมผัสได้ด้วยหู แต่การฟังให้ผ่านไปก็จะไม่ได้สัมผัสถึงสุนทรียะของคนตรีได้ ดังนั้นจึงต้อง 
มีสมาธิ การจะทำอะไรสักอย่างให้ลุล่วงนั้น ต้องมีความตั้งใจ และ ไม่มีสิ่งใดประสบความสำเร็จลุล่วงได้โดยไม่ผ่านความยากลำบาก ซึ่งเมื่อมีสมาธิเราจะสามารถ
นำมาวิเคราะห์ โดยการหาแหล่งที่มาของเสียงและรู้ว่าเสียงนั้นเกิดจากอะไร ดังนั้น การฟังที่ดีควรมีความรู้ทางดนตรีเสียก่อน โดยการวิเคราะห์นั้น เริ่มจาก การฟังเสียง ฟังจังหวะ ฟังทำนอง ฟังเนื้อร้อง ฟังการเรียบเรียงเสียงประสาน ฟังสีสันแห่งเสียง ฟังรูปแบบของเพลง ฟังอย่างวิเคาระห์ ฟังเพื่อสุนทรียะ

โดยสรุปคือ ต้องเป็นเพลงที่ชอบ ตั้งใจฟังอย่างมีสมาธิ รู้ถึงที่มาของเสียง แยกเสียงที่สัมผัสได้ออกเป็นทีละอย่าง และทำอารมณ์ให้คล้อยตาม และนำเสียงมารวมกันให้เกิดการจิณตนาการให้เสียงออกมาเป็นภาพ




อุปสรรคในการฟังดนตรี
     บรรยากาศ ที่ทำให้เสียสมาธิ เช่น อากาศร้อน ทำให้เสียสมาธิ ไม่เพียงแต่การฟังดนตรีเท่านั้น แม้ว่าเป็นการทำสิ่งอื่น  หากเกิดความหงุดหงิดก็ไม่สามารถทำสิ่งใดให้ดีได้ บางคนจึงอาศัยการฟังเพลงใต้ต้นไม้ เมื่อการฟังเริ่มปัญหา การแก้ปัญหานั้นต้องแก้ไขที่ตัวเราเอง เรียกว่าใจต้องมาก่อน ส่วนอื่นเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น




ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกฟังดนตรี
     ได้รับความทนทานในเรื่องของความอดทน คนที่มีสมาธิในการฟังดนตรี การทำอะไรหนึ่งอย่าง ไม่เพียงเฉพาะดนตรี จะทำได้เป็นเวลานานๆ ซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่ไม่เห็นผลโดยตรง เป็นการฝึกสมาธิที่ฝังไปในนิสัยส่วนตัว ทำให้มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น เพราะดนตรีมีความละเอียด ประณีต ทั้งทางกาย และทางจิตใจ เมื่อเราได้ยินเสียงดนตรีที่สงบ ก็จะทำให้จิตสงบ อารมณ์ดี หากได้ยินเสียงเพลงที่ให้ความบันเทิงใจ ก็จะเกิดอารมณ์ที่สดใส เพราะดนตรีเป็นสื่อสุนทรียที่สร้างความสุข ความบันเทิงใจให้แก่มนุษย์


..............................................................................

วิดีโอสัมภาษณ์ อาจารย์ เมธารัตน์ วาจารชล
ในหัวข้อเรื่อง
การฟังดนตรีอย่างไรให้มีสุนทรียะ


...
...
...


อาจารย์ เมธารัตน์ วาจารชล
อาจารย์ประจำวิชา ดนตรีสากล
โรงเรียนวัดป่าประดู่ จ.ระยอง





V-MU โรงเรียนสอนดนตรีของ อาจารย์ เมธารัตน์ วาจารชล



เหล่าลูกศิษย์ที่ V-MU



เหล่าลูกศิษย์โรงเรียนวัดป่าประดู่ จ.ระยอง



ทุกปีทางโรงเรียนจะส่งเด็กนักเรียนเข้าประกวดวงดนตรีลูกทุ่ง
ในรายการชิงช้าสวรรค์ ทางช่อง9


เพลงแนะนำ 
Pearl Jam - Black



บรรณานุกรมจาก หนังสือที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของ
การฟังดนตรีอย่างไรให้มีสุนทรียะ

สุกรี เจริญสุข ฟังดนตรีอย่างไรให้ไพเราะ พิมพ์ครั้งที่2 กรุงเทพ : หอรัตนชัยการพิมพ์ 2538

ศักดิ์ชัย หิรัญรักษ์ การฟังดนตรี(Music listening)ตอนที่2 : กระบวนการฟัง(The Precedural essence of Music listening)เพลงดนตรี ปีที่12 ฉบับที่ 6 หน้า 30-38 ; (ต.ค.49)

เอกลักษณ์ จุลสุคนธ์ ศิลปนิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปบัณฑิต ปทุมธานี .2542 มหาวิทยาลัยรังสิต

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ เสียงกับสุนทรียภาพของการได้ยิน (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.shi.or.th/content/333/ วันที่ค้นข้อมูล เสาร์ 29 กันยายน 2550


ขอบคุณที่แวะเข้ามาเยี่ยมชม Blogger ครับ

ขอทิ้งท้ายด้วยรวมภาพ อาจารย์ เมธารัตน์วาจารชล กับครอบครัว และเหล่าลูกศิษย์
จาก โรงเรียนสอนดนตรีสากล V-MU
และ โรงเรียนวัดป่าประดู่ จังหวัดระยองครับ





































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น